ณฐพร ให้สัมภาษณ์กดดัน กกต. ให้ยื่น ยุบพรรคก้าวไกล ฐานสนับสนุนม็อบ และประกันตัวผู้กระทำผิดตาม ม.112 นาย ณฐพร โตประยูร ในฐานะผู้ร้อง ได้ให้สัมภาษณ์ หลังหลังการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ว่า กระบวนการหลังจากนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอัยการที่จะนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปดำเนินคดีอาญา โดยยอมรับว่า หลังมีคำตัดสินชี้ขาดมาส่วนตัวไม่ได้สบายใจ หรือสุขใจ เพราะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ในประเทศไทย และไม่ต้องการให้มีกระบวนการที่อยู่เบื้องหลังการล้มล้าง ทำลายสถาบัน
มั่นใจต่อคำร้องนี้ เนื่องจากมีพยานหลักฐาน ปัจจุบันมีกระบวนการชักศึกเข้าบ้าน
นำองค์กรต่างชาติเข้ามาดำเนินการกับประเทศไทย พร้อมกับตั้งคำถามว่า การลบล้างสถาบันประชาชนได้อะไร ซึ่งหากเป็นการดำเนินการเพื่อปัญหาปากท้องของประชาชน จะเกิดประโยชน์กว่า ส่วนตัวอยากให้แก้ไขปัญหาเรื่องสัญญาณดาวเทียม น้ำมัน จะดีกว่า” นายณฐพร กล่าว
สำหรับข้อเสนอการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของฝ่ายการเมือง ยืนยันว่าจากคำวินิจฉัยจะทำให้คำร้องเอาผิดและยุบพรรคก้าวไกลดำเนินการได้ หลังตนได้ยื่นคำร้องกับ กกต.ไว้ตาม มาตรา 92 เชื่อว่า กกต.จะขอคัดถ่ายสำเนาคำวินิจฉัย ไปดำเนินการเนื่องจากพรรคการเมือง และส.ส.ของพรรคดังกล่าวให้การสนับสนุนทางการเงิน และการประกันตัวผู้ต้องหา รวมถึงอ้างว่ามีการไปร่วมชุมนุม ถือเป็นความผิด ซึ่งเชื่อมั่นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันนี้จะเป็นสารตั้งต้นในการฟ้องร้องเอาผิดต่อผู้กระทำการละเมิดต่อสถาบัน
ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย กรณีการชุมนุมปราศรัยของ รุ้ง-ไมค์-อานนท์ กระทำผิดฐานล้มล้างการปกครองฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตราา 49 วรรค 1
วันที่ 10 พ.ย.64 เวลาประมาณ 15.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัย คำร้องขอให้ศาลรธน.วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กรณีที่นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่าการกระทำของ นายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์) น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) นายพริษฐ์ ชิวารักษ์(เพนกวิน) น.ส.จุฑาทิพย์ หรือ เพนกวิน ศิริขันธ์ น.ส.สิริพัชระ จึงธีรพานิช นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และน.ส.อาทิตยา พรพรม รวม 8 คน ชุมนุมปราศรัยเพื่อเสนอข้อเรียกร้องเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่
อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กล่าวใน UN ใช้ ม.112 ป้องกันสถาบันหลัก
อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ได้กล่าวในที่ประชุม สหประชาชาติ หรือ UN ชี้ใช้ ม.112 เพื่อปกป้องสถาบันหลัก แก้ไขได้ ในห้วงเวลาเดียวกันกับที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ข้อเรียกร้อง ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของกลุ่มธรรมศาสตร์จะไม่ทน เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ตามมาตรา 49 และห้ามกระทำซ้ำอีก ด้าน นาย ณัฐวัฒน์ กฤษณามระ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนไทย ได้กล่าวอธิบายถึงมาตรา 112 ต่อ สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHRC ที่นครเจเนวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ความว่า
มาตรา 112 มีเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ให้ถูกดูหมิ่นพระเกียรติ ป้องกันภัยคุกคามที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างไรดี ข้อหาว่าด้วยการดูหมิ่นอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ไม่ได้มีการดำเนินคดีไปเสียทุกข้อกล่าวหา ซึ่งการจะสั่งฟ้องไม่ฟ้องขึ้นอยู่กับอำนาจการตัดสินใจของ ‘อัยการสูงสุด’
นาย ณัฐวัฒน์ กล่าวว่า ผู้ที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 หากศาลเห็นว่าไม่มีแนวโน้มในการกระทำผิดซ้ำ ก็มีสิทธิในการประกันตัว และมาตรานี้ก็สามารถแก้ไขได้ เหมือนกับกฎหมายอื่นๆ โดยใช้กลไกในระบอบรัฐสภาและกลไกตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ก็มีการถกเถียงในเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นว่าไทยเองก็มีกลไกในการแก้ไขกฎหมายสำคัญมาตรานี้
“กฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์เป็นไปเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ และรักษาสถาบันหลัก และไม่ได้มีไว้เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออก รวมถึงไม่ได้มีไว้เพื่อจำกัดเสรีภาพสื่อ” รัฐบาลไทยชี้แจงเรื่องมาตรา 112 ต่อ OHCHR
ความน่าสนใจของรายงานฉบับเต็มของรัฐบาลไทยระบุว่า กลไกได้เปิดช่องให้ผู้ที่ถูกตัดสินด้วยมาตรานี้ สามารถขอพระราชทานอภัยโทษได้
โดยศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยกรณีดังกล่าวและได้มีการวินิจฉัยว่า จำเลยทั้ง 3 มีความผิดฐานล้มล้างการปกครองตามคำร้อง และมีคำสั่งผูกพันในอนาคต ซึ่งหมายความว่าต่อจากนี้ การชุมนุมทางการเมืองที่กล่าวถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จะถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ
“การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 2 และ 3 เป็นการใช้สิทธิ เสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตราา 49 วรรค 1 และสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 2 และ 3 รวมทั้งกลุ่มองค์กรเครือข่าย เลิกกระทำการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรค 2”
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป